วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรุ้ไว้บ้าง


เปิดวิสัยทัศน์ 'ดับไฟใต้' ของดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน

 

 แหล่งอ้างอิง  http://www.youtube.com/watch?v=X7XAfs5IkJg

การศึกษาไทย
ระบบการศึกษาไทยปัจจุบันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545 มีการจัดระบบการศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น) และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี (3 ระดับชั้น) หรือระบบ 6-3-3
        นอกจากนั้นระบบการศึกษาไทยยังจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน  การศึกษานอกระบบโรงเรียน  และการศึกษาตามอัธยาศัย ในการจัดระบบการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะไม่พิจารณาแบ่งแยกการศึกษาในระบบโรงเรียนออกจากการศึกษานอกระบบโรงเรียน  แต่จะถือว่าการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นเพียงวิธีการเรียนการสอน หรือรูปแบบของการเรียนการสอนที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Modes of learning"  ฉะนั้น แนวทางใหม่คือสถานศึกษาสามารถจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ  และให้มีระบบเทียบโอนการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาฯ มาตรา 15  กล่าวว่าการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย คือ
          (1) การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
          (2) การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
          (3) การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส  โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ

           สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม  รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงานการสอน และจะส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ

การศึกษาในระบบมีสองระดับคือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
          1. การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็นสามระดับ
 1.1  การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
 1.2  การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
 1.3  การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้
        - การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี
        - การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นสองประเภท ดังนี้
          1) ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
          2) ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ หรือ ศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป
          2.  การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา การใช้คำว่า "อุดมศึกษา" แทนคำว่า "การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย"  ก็เพื่อจะให้ครอบคลุมการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา  ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว

ทั้งนี้การศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

การศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของคนไทย ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ


นำมาฝากกกกกกกก



ชีวิตของคนเราแต่ละคนนั้นย่อมผ่านอะไรมาตั้งมากมาย  ทั้งสุข  ผิดหวัง  เศร้า  เสียใจ  แต่จะมีใครรู้บ้างนะว่ายังมีอะไรอีกหลาย ๆ อย่างที่คนเราบ้างคนยังไม่รู้  ลองมาดุกันนะค่ะว่าสิ่งนั้น  คืออะไร




3 สิ่งในชีวิตที่นำมาฝาก
3 สิ่งในชีวิต ที่ผ่านไปแล้วไม่มีวันหวนกลับคืนมา คือ เวลา คำพูด อกาส
3 สิ่งในชีวิตของเราจะขาดไม่ได้ คือ ความสงบของใจ ความสื่อสัตย์และความหวังดี
3 สิ่งในชีวิตที่มีค่าต่อชีวิต คือ ความรัก ความมั่นใจในตนเองเเละเพื่อน
3 สิ่งในชีวิต ที่ไม่เเน่นอน คือ ความฝัน ความสำเร็จ เเละโชคชะตา
3 สิ่งในชีวิต ที่เราไม่สามารถรู้ได้ คือ ริสกี คู่ครอง และความตาย
3 สิ่งในชีวิต ที่นำพาสู่ความพินาศ คือ อบายมุข ความเย่อหยิ่งเเละความโกรธ
3 สิ่งในชีวิต ที่นำไปสู่สวรรค์ คือ ความดี ความอดทนและความยำเกรง


เศรษฐกิจพอเพียง


             "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

                 "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน "ทางสายกลาง" โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
                  "เศรษฐกิจพอเพียง"หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


. . . คนส่วนมากมักเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของ
เกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริง ผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น
พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ สามารถนำแนว
พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ได้ . . .


. . . ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และทำได้เศษหนึ่ง
ส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น ไม่ได้แปลว่า เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่
แต่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ . . .





วิดีโอเกี่ยวกับอาณาจักรฟังไจ




แหล่งอ้างอิง   http://www.youtube.com/watch?v=LyuPvstfNZg

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

.สื่อการเรียนการสอน โครงการเด็กไทยสุขภาพดี .

สื่อการเรียนการสอน โครงการเด็กไทยสุขภาพดี

       สื่อตัวอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช่ปฏิบัติได้อย่างง่ายดายสำหรับการสอนเด็ก  ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น

 



 

เเหล่งที่มา  http://www.youtube.com/watch?v=znL0dOxaRZo

ง่าย ๆ เพียงเเค่คุณดูแลเอาใจใส

7 เคล็ดลับการกินอาหารแบบคนสุขภาพดี

ในยุคที่กระแสคนรักสุขภาพกำลัง ได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกการกินเพื่อสุขภาพคือสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องให้ความใส่ใจ เพราะการกินไม่ใช่แค่การสนองความต้องการหรือให้อิ่มท้องเท่านั้น หากแต่ยังต้องคำนึงถึงผลที่มีต่อสุขภาพด้วย
                  
                  อาหารและสุขภาพเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน การเกิดโรคบางชนิดก็มีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม หลายคนเคยหลงรูป รส หรือความสะดวกรวดเร็ว ของอาหารที่แฝงไปด้วยพิษภัยอย่างเงียบ ๆ เช่น ฟาสต์ฟูด อาหารสำเร็จรูป เบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลมฯลฯ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผิดและตกยุค    กระแสรักสุขภาพและการกินเพื่อสุขภาพตามมา ดังนั้น จึงขอแนะนำ 7 เคล็ดลับการกินเพื่อสุขภาพเพื่อให้นำไปใช้กัน

                 1. ทานอาหารเช้าเป็นประจำ เพราะมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด และควรเป็นมื้อที่มีคุณค่าครบทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะนอกจากจะช่วยเติมพลังให้ร่างกาย และสมองแล้ว ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ช่วยให้การเผาผลาญ พลังงานดีขึ้น

                 2. เลือกอาหารจากธรรมชาติไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์(มอลต์) ถั่ว ข้าวสาลี (โฮลวีต) เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่า นี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งรวมของแร่ธาตุ วิตามิน โปรตีนที่ปราศจากคอเลสเตอรอลและคาร์โบไฮเดรต

                 3. เพิ่มผักผลไม้ในมื้ออาหารและทานเป็นประจำ เพื่อเพิ่มวิตามิน เกลือแร่และสารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยนำคอเลสเตอรอล และสารก่อมะเร็งบางชนิด ออกจากร่างกาย

                  4. ลดขนมขบเคี้ยวและขนมอบ ที่มีแต่ไขมัน เกลือ น้ำตาลและสารปรุงแต่งอื่น ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ หากอยากทานขนมอาจหันมาทานขนมที่มีส่วนผสมของธัญพืชเพื่อเพิ่มคุณค่าทาง

                   5. กินปลา ไข่และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อาหารเหล่านี้เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ช่วยเสริมสร้างร่างกายในผู้เยาว์ และซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ที่เสื่อมสลายในผู้สูงวัย

                   6. ดื่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแทนน้ำหวาน น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีน้ำตาลสูง การดื่มน้ำผักผลไม้ ก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินและแร่ธาตุกว่า 50 ชนิด เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย

                    7. ดื่มน้ำและนมให้เป็นนิสัย ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยระบบขับถ่าย และมีน้ำหล่อเลี้ยงในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย และควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 1-2 แก้ว ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เพราะนมอุดมไปด้วยคุณค่าโภชนาการสูง ช่วยในการเจริญเติบโตของเด็ก ๆ ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง





แหล่งอ้างอิง  http://blog.th.88db.com/?p=2426